การกำกับดูแลกิจการที่ดี

การกำกับดูแลกิจการที่ดี

บริษัทได้ตระหนักถึงบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบในการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยเชื่อว่าการกำกับดูแลกิจการเป็นตัวกำหนดโครงสร้างและกระบวนการของความสัมพันธ์ ระหว่างผู้ถือหุ้น คณะกรรมการ ฝ่ายบริหาร และผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย โดยมีเป้าหมาย เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและเพิ่มมูลค่าของกิจการให้แก่ผู้ถือหุ้นในระยะยาว พร้อมกับการคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียรายอื่น ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้การดำเนินธุรกิจมีความเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องและมั่นคง

คณะกรรมการบริษัทได้กำหนดนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีขึ้นเพื่อให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของกลุ่มบริษัททุกคน ยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน โดยได้แต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการเพื่อช่วยกำกับดูแลและกลั่นกรองงานที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลกิจการ รวมถึงการติดตามผล ทบทวน และแก้ไขเพิ่มเติมนโยบายด้านการกำกับดูแลกิจการที่มีอยู่ให้ทันสมัยเหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบันและสอดคล้องกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีซึ่งกำหนดโดยหน่วยงานกำกับดูแล ตลอดจนแนวปฏิบัติระดับสากลที่ถือกันว่าเป็นแนวปฏิบัติที่ดี และนำเสนอต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณา ทบทวนอนุมัติอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ทั้งนี้ คณะกรรมการได้เน้นย้ำการกำกับดูแลกิจการด้วยการรวมนโยบายและทิศทางในการดำเนินธุรกิจ การจัดตั้งระบบควบคุมภายในและระบบตรวจสอบให้เพียงพอ โดยมอบหมายคณะกรรมการตรวจสอบให้ร่างแผนการดำเนินการตรวจสอบภายในเพื่อให้มั่นใจว่าองค์กรปฏิบัติตามนโยบายทั้งหมด นอกจากนี้ คณะกรรมการได้ดูแลฝ่ายบริหารให้ปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพภายใต้นโยบายเพื่อให้ธุรกิจของบริษัทมีความโปร่งใส มีจริยธรรม และปฏิบัติตามกฎหมายที่ใช้บังคับทั้งหมด

ระบบการบริหารงานการกำกับดูแลกิจการการปฏิบัติตามกฎเกฑณ์ (Compliance System) ของ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) ได้ผ่านการประเมินจากคณะกรรมการภายนอกและมีความเป็นอิสระ ซึ่งดำเนินการประเมินจากการสำรวจการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียน (CGR) ซึ่งการดำเนินโครงการ CGR นั้น ก่อตั้งขึ้นโดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (Thai IOD) ร่วมกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)

ในปี 2565 บริษัทได้รับคัดเลือกเป็นบริษัทที่มีการกำกับดูแลกิจการในระดับดีเลิศ (5 ดาว) ครอบคลุมในเรื่อง (1) สิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ถือหุ้น , (2) การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นโดยเท่าเทียมกัน , (3) บทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย, (4) การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส , (5) ความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัท ซึ่งทั้งหมดนี้ ถือเป็นเครื่องหมายยืนยันว่าบริษัทมีระบบและขั้นตอนที่เหมาะสมเรื่องกระบวนการการดำเนินงานด้านจรรยาบรรณทางธุรกิจที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานอิสระ

เอกสาร
PDF
1. ข้อบังคับ
2. นโยบายการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
3. จรรยาบรรณของบริษัทและนโยบายการคุ้มครองและบรรเทาความเสียหายให้กับผู้รายงาน
4. นโยบายการเปิดเผยข้อมูลและสารสนเทศของบริษัท
5. นโยบายการป้องกันและต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น
6. นโยบายการกำกับดูแลกิจการ
7. นโยบายสิทธิมนุษยชน
8. นโยบายการไม่ล่วงละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาและลิขสิทธิ์
9. หนังสือบริคณห์สนธิ
10. นโยบายการบริหารความเสี่ยง
11. นโยบายการดูแลเรื่องการใช้ข้อมูลภายใน
12. นโยบายการบริหารจัดการความปลอดภัยด้านสารสนเทศ
13. นโยบายด้านภาษี
14. นโยบายสิ่งแวดล้อม
15. นโยบายการพัฒนาอย่างยั่งยืน
16. นโยบายการซื้อขายหลักทรัพย์
17. นโยบายความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม
18. จรรยาบรรณคู่ค้า
19. นโยบายการบริหารความหลากหลาย ความเท่าเทียมและยอมรับความแตกต่าง